รายงานของ
ฯพณฯ สุกิจ นิมมานเหมินท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ต่อ ฯพณฯ จอมพล ถนอม กิตติขจร
นายกรัฐมนตรี
ในพิธีมอบอาคาร "ดาราคาร"
ถนนสุขุมวิท
วันศุกร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๔
ขอประทานกราบเรียน ฯพณฯ
นายกรัฐมนตรี
กระผม
พร้อมด้วยข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ
รู้สึกซาบซึ้งในพระคุณที่
ฯพณฯ
ได้กรุณารับเชิญมาเป็นประธานในพิธีมอบอาคาร
"ดาราคาร" ให้เป็นอาคาร
สำนักงาน
การศึกษาระหว่างชาติ ๒ องค์การ
คือ
สำนักงานส่วนภูมิภาคเอเชียขององค์การศึกษา
วิทยาศาสตร์
และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
หรือที่เรียกว่า
"ยูเนสโก" และ
สำนักงานเลขาธิการขององค์การคณะรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่เรียกว่า "ซีเมส"
ในโอกาศนี้
กระผมขอกราบเรียนเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศไทย
กับองค์การทั้งสองโดยสังเขป
ดังนี้
ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การศึกษา
สหประชาชาติ เมื่อวันที่ ๑
มกราคม
๒๔๙๒
จึงนับได้ว่าประเทศไทยและองค์การฯ
นี้มีความสัมพันธ์กันมากว่า ๒๒
ปีแล้ว
หลังจากที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกแล้ว
องค์การศึกษาฯ สหประชาชาติ
ได้ส่ง
ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมมือปฏิบัติงานตามโครงการต่าง
ๆ เช่น โครงการพัฒนาการศึกษา
ที่เรียกว่า
โครงการฉะเชิงเทราเป็นต้น
เมื่อมีโครงการมากขึ้น
มีผู้เชี่ยวชาญมากขึ้น
จึงจำต้องตั้งสำนักงานหัวหน้าผู้เชี่ยวชาญขึ้น
โดยเริ่มต้นด้วยการอาศัยสถานที่ของ
กระทรวงศึกษาธิการ
แล้วได้เปลี่ยนย้ายไปหลายแห่ง
จนในที่สุดได้ย้ายไปอยู่ ณ
อาคาร
ด้านหนึ่งในตึกที่เคยเป็นที่ตั้งของกระทรวงวัฒนธรรม
ณ สนามเสือป่า
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๓ องค์การศึกษาฯ
สหประชาชาติ
ดำริจะจัดตั้งสำนักงาน
การศึกษาส่วนภูมิภาคเอเชียขึ้น
เพื่อวางแผนปรับปรุงการประถมศึกษาในเอเชีย
และองค์การฯ
ได้ติดต่อมายังรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขออนุมัติจัดตั้ง
สำนักงานดังกล่าวที่กรุงเทพฯ
ด้วยเหตุนี้
จึงมีความจำเป็นต้องขยายสำนักงาน
หัวหน้าผู้เชึ่ยวชาญประจำประเทศไทย
เป็นสำนักงานการศึกษาส่วนภูมิภาคเอเชีย
และมีความจำเป็นที่ต้องจัดสร้างอาคารเพื่อเป็นสำนักงานขึ้นใหม่
ครั้นต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๐๘
องค์การศึกษาฯ สหประชาชาติ
ได้จัดให้มีการประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
และรัฐมนตรีรับผิดชอบการวางแผนเศรษฐกิจ
ในเอเชีย ขึ้นที่กรุงเทพฯ
เมื่อเสร็จการประชุมแล้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ได้ประชุมปรึกษาหารือกันในเรื่องความร่วมมือ
ช่วยเหลือกันและกันทางด้านการศึกษา
เป็นผลให้เกิดการจัดตั้ง
สำนักงานเลขาธิการ
องค์การคณะรัฐมนตรีศึกษาธิการ
ของกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้น
ที่เรียกกันโดยย่อ
ว่า "ซีเมส"
สำนักงานดังกล่าวเป็นสำนักงานชั่วคราว
มี นายก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
เป็นผู้รักษาการในหน้าที่ผู้อำนวยการอยู่ในกระทรวงศึกษาธิการ
แล้วย้ายไปอยู่ที่
ศูนย์วัสดุการศึกษา
ในบริเวณคุรุสภา
ครั้นถึง พ.ศ. ๒๕๑๑
ที่ประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ครั้งที่ ๓
ได้มีมติให้ตั้งสำนักงานถาวรขององค์การฯ
ที่กรุงเทพฯ และให้กระผม
เป็นผู้อำนวยการของสำนักงานคนแรก
เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องมีอาคารเป็นที่ตั้งสำนักงานส่วนภูมิภาคของ
"ยูเนสโก"
อยู่แล้ว
และมีความจำเป็นที่จะต้องสร้งสำนักงานสำหรับ
"ซีเมส" มาเพิ่มเติมขึ้นอีก
กระทรวงศึกษาธิการจึงได้นำความกราบเรียน
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
เพื่อขอความกรุณา
ได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีขอความเห็นชอบ
ด้วยความสนับสนุนของ ฯพณฯ
คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติเงินจำนวนรวม
๑๕ ล้านบาท
สำหรับสร้างอาคารนี้ขึ้น ซึ่ง
ฯพณฯ
ได้กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่
๓ มกราคม ๒๕๑๒
สถานที่ที่สร้างอาคารนี้มีเนื้อที่ประมาณ
๖.๒ ไร่ ตัวอาคารสูง ๕ ชั้น
สี่เหลี่ยม
ขนาดกว้างและยาวด้านละ ๓๕ เมตร
นายเขียน สุวรรณสิงห์ และม.ร.ว.
พีระเดช จักรพันธ์
เป็นสถาปนิก นายกุมุท
เกียรติเฟื่องฟ และนายนิยม
เหรียญสุวรรณ เป็นวิศวกร
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
วิวัฒน์ก่อสร้าง
เป็นผู้ทำการก่อสร้าง
โดยที่วัตถุประสงค์ในการสร้าง
อาคารขึ้น
เพื่อให้สำนักงานส่วนภูมิภาคของ
"ยูเนสโก" และสำนักงาน
"ซีเมส" ใช้ร่วมกัน
จึงได้ใช้ชื่อว่า อาคาร
"ยูเนสโก-ซีเมส" แต่ต่อมา
ฯพณฯ ปิ่น มาลากุล
ซึ่งเป็นผู้มีความสนใจในกิจกรรมขององค์การทั้งสองโดยตลอดมาตั้งแต่ต้น
และเป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้างอาคารนี้ขึ้น
ได้ให้ชื่อใหม่ว่า "ดาราคาร"
อันเป็นชื่อที่เหมาะสม
เพราะตั้งอยู่ในบริเวณท้องฟ้าจำลองของกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ตกลงเรียกชื่ออาคารนี้ว่า "ดาราคาร"
บัดนี้
ได้เวลาอันเป็นศุภฤกษ์แล้ว
กระผมขอกราบเรียนเชิญ ฯพณฯ
ได้โปรด
ประกอบพิธีมอบอาคาร "ดาราคาร"
ให้แก่องค์การทั้งสองเพื่อใช้เป็นสำนักงานขององค์การ
เพื่อความเป็นสิริมงคล
และเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความร่วมมือระหว่างองค์การทั้งสอง
กับประเทศไทยสืบไป
|